งานวิจัยที่มีผู้เข้าดูมากที่สุด

ชื่อเรื่อง ประเภทงานวิจัย ปีที่พิมพ์ อ่าน รายละเอียด
การเปรียบเทียบผลของการใช้กรดซิตริก (Citric Acid) และสารละลาย เกลือแกง (Sodium chloride) ที่มีความเข้มข้นและระยะเวลาแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร 2555
92939
อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกต่อการให้ผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ ทองเฉลิม 5011 งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
92881
การใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดหอมเรดโอ๊คที่ปลูก ในระบบไฮโดรโปนิกส์ งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
92294

งานวิจัยที่มีผู้เข้าดาวน์โหลดมากที่สุด

ชื่อเรื่อง ประเภทงานวิจัย ปีที่พิมพ์ ดาวน์โหลด รายละเอียด
การเปรียบเทียบผลของการใช้กรดซิตริก (Citric Acid) และสารละลาย เกลือแกง (Sodium chloride) ที่มีความเข้มข้นและระยะเวลาแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร 2555
356
อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกต่อการให้ผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ ทองเฉลิม 5011 งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
570
การใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดหอมเรดโอ๊คที่ปลูก ในระบบไฮโดรโปนิกส์ งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
345

ผลกระทบของพาราควอทต่อแมลงช้างปีกใส
ผู้วิจัย นายประวิช เพ็ชรโย | ปีที่พิมพ์ 2558 | อ่าน 88031 ครั้ง ดาวน์โหลด 6 ครั้ง

บทคัดย่อ

 

 

เรื่อง                    ผลกระทบของพาราควอทต่อแมลงช้างปีกใส

                           Impacts of Paraquat on Green Lacewing

โดย                     นายประวิช  เพ็ชรโย

ชื่อปริญญา            วิทยาศาสตรบัณฑิต  (เกษตรศาสตร์)

ปีการศึกษา           2558

อาจารย์ที่ปรึกษา     อาจารย์ ดร. สังวาล  สมบูรณ์

 

ศึกษาผลกระทบของพาราควอทต่อแมลงช้างปีกใส  เพื่อประเมินหาผลกระทบของสารพาราควอทต่อการรอดชีวิตและการเจริญเติบโตของแมลงช้างปีกใส มีการวางแผนการทดลองแบบ  Completely Randomized Design (CRD)  ประกอบด้วย 5 กลุ่มทดลอง กลุ่มทดลอง ละ 5 ซ้ำ  ซ้ำละ 10 ตัว พบว่า การใช้สารพาราควอท ในอัตรา 25 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร ภายใน 24 ชั่วโมงแรก ก็มีแนวโน้มเปอร์เซ็นต์การตายเฉลี่ยของแมลงช้างปีกใสมากที่สุด คือ 50 เปอร์เซ็นต์ หลังจากนั้นเปอร์เซ็นต์การตายเฉลี่ยก็เพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ เมื่อระยะเวลานานขึ้น โดยเมื่อสิ้นสุดการทดลอง         (96 ชั่วโมง) การใช้สารพาราควอท อัตรา 25 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร ก็ยังคงมีแนวโน้มเปอร์เซ็นต์ การตายเฉลี่ยของแมลงช้างปีกใสสูงที่สุด คือ 86 เปอร์เซ็นต์ และมีเปอร์เซ็นต์การรอดชีวิตเฉลี่ย เท่ากับ 14 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งมีค่าน้อยที่สุด ถึงแม้จะมีเปอร์เซ็นต์การกินได้เฉลี่ยปานกลาง คือ105.40 เปอร์เซ็นต์ ก็ตาม รองลงมาคือ การใช้สารพาราควอท อัตรา 50 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร มีเปอร์เซ็นต์การตาย เปอร์เซ็นต์การรอดชีวิต และเปอร์เซ็นต์การกินได้ของแมลงช้างปีกใสเฉลี่ย เท่ากับ          82 เปอร์เซ็นต์ 18 เปอร์เซ็นต์ และ 97 เปอร์เซ็นต์ (ที่ 96 ชั่วโมง) ตามลำดับ ในขณะที่การใช้น้ำเปล่า (ชุดควบคุม) มีเปอร์เซ็นต์การตาย เปอร์เซ็นต์การรอดชีวิต และเปอร์เซ็นต์การกินได้เฉลี่ย เท่ากับ    34 เปอร์เซ็นต์ 66 เปอร์เซ็นต์ และ 119.40 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ ดังนั้น การใช้สารพาราควอททุกอัตรา มีผลกระทบ ต่อการดำรงอยู่ของแมลงช้างปีกใส ทั้งหมด เพราะถึงแม้จะใช้ในความเข้มข้น          หรืออัตราต่ำๆ ก็มีผลทำให้แมลงช้างปีกใสตายครึ่งหนึ่ง ของแมลงช้างปีกใสทั้งหมด ภายใน 24 ชั่วโมง 



ศึกษาอุณหภูมิและเวลาที่เหมาะสมในการทอดกล้วยไข่ดิบก่อนการ แช่เยือกแข็งที่มีผลต่อลักษณะคุณภาพของเฟรนช์ฟรายส์กล้วยไข่
ผู้วิจัย จิราวรรณ์ ลุนพันธ์ และ สำเนียง ณะวงวิเศษ | ปีที่พิมพ์ 2555 | อ่าน 90002 ครั้ง ดาวน์โหลด 52 ครั้ง

งานวิจัยนี้ได้ศึกษาอุณหภูมิและเวลาที่เหมาะสมในการทอดกล้วยไข่ดิบก่อนการแช่เยือกแข็งที่มีผลต่อลักษณะคุณภาพของเฟรนช์ฟรายส์กล้วยไข่เนื่องจากผลกล้วยเหมาะต่อการบริโภคสำหรับทุกเพศทุกวัย เพราะเป็นผลไม้ที่อุดมด้วยคุณค่าทางอาหารในการบริโภคสด หรือ การแปรรูปเป็นอาหารทั้งคาวและหวาน และได้เล็งเห็นถึงปัญหาของกล้วยซึ่งเป็นผลไม้ที่มีปริมาณมากและราคาต่ำ ในบางช่วงของปี จึงต้องการเพิ่มมูลค่าของกล้วยไข่ดิบโดยมีอุณหภูมิและเวลาในการทอดก่อนการแช่เยือกแข็งที่ทำการศึกษา คือ อุณหภูมิที่ใช้ทอดได้แก่ 140, 150 และ 160 องศาเซลเซียสและเวลา 20, 40 และ 60 วินาที วิเคราะห์ทางด้านกายภาพและเคมี ได้แก่ ค่าความสว่าง (L*) และค่าความเป็นสีเหลือง (b*) ความกรอบ และโอกาสการเกิดกลิ่นหืน ผลการศึกษาพบว่า อุณหภูมิและเวลาที่แตกต่างในการทอดมีผลทำให้ค่าความสว่าง (L*) และค่าความเป็นสีเหลือง (b*) และโอกาสการเกิดกลิ่นหืนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ (P≤0.05) ซึ่งแสดงโดยการวิเคราะห์ค่าเปอร์ออกไซด์ และอุณหภูมิที่สูงขึ้นมีแนวโน้มต่อค่าความกรอบ การประเมินทางด้านประสาทสัมผัส โดยผู้ประเมินทั่วไป พบว่าอุณหภูมิและเวลาในการทอดก่อนการแช่เยือกแข็งของผลิตภัณฑ์เฟรนช์ฟรายส์จากกล้วยไข่ที่แตกต่างกันไม่มีผลต่อความชอบต่อสี กลิ่น รสชาติ เนื้อสัมผัสและความชอบโดยรวมของผลิตภัณฑ์เฟรนช์ฟรายส์จากกล้วยไข่อย่างมีนัยสำคัญ (P>0.05)



ผลของการใช้กากปาล์มน้ำมันอัดเม็ดในสูตรอาหารข้น ต่อปริมาณน้ำนมและองค์ประกอบทางเคมีของน้ำนมในโครีดนม
ผู้วิจัย ศิริชัย เที่ยงธรรมและคณะ | ปีที่พิมพ์ 2557 | อ่าน 88285 ครั้ง ดาวน์โหลด 3 ครั้ง



ประสิทธิภาพของสารสกัดแมงลักคาและสะเดาต่อการเข้าทาลายของเพลี้ยอ่อนถั่ว
ผู้วิจัย ยมนา หาทรัพย์ | ปีที่พิมพ์ 2557 | อ่าน 88622 ครั้ง ดาวน์โหลด 38 ครั้ง

บทคัดย่อ
เรื่อง ประสิทธิภาพของสารสกัดแมงลักคาและสะเดาต่อการเข้าทาลายของเพลี้ยอ่อนถั่ว
Efficacy of Mintweed and Neem Extracts on Aphids Infestation
โดย นายยมนา หาทรัพย์
ชื่อปริญญา วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)
ปีการศึกษา 2557
อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ ดร. สังวาล สมบูรณ์
ศึกษาประสิทธิภาพในการควบคุมเพลี้ยอ่อนถั่วจากสารสกัดใบแมงลักคาและใบสะเดาในรูปแบบต่างๆ เปรียบเทียบกับชุดควบคุมที่ความเข้มข้น 5% โดยวางแผนการทดลองแบบ Completely Randomized Design (CRD) แบ่งเป็น 5 กลุ่มทดลอง กลุ่มทดลองละ 5 ซ้า ซ้าละ 10กระถาง ดังนี้กลุ่มทดลองที่ 1น้าเปล่า (ชุดควบคุม) กลุ่มทดลองที่ 2 สารสกัดของใบแมงลักคาสกัดด้วยไอน้าความเข้มข้น 5% กลุ่มทดลองที่ 3 สารสกัดของใบแมงลักคาสกัดด้วยน้าเปล่าความเข้มข้น 5% กลุ่มทดลองที่ 4 สารสกัดของใบสะเดาสกัดด้วยไอน้าความเข้มข้น 5% และกลุ่มทดลองที่ 5 สารสกัดของใบสะเดาสกัดด้วยน้าเปล่าความเข้มข้น 5% ผลการทดลองพบว่า หลังจากพ่นสารสกัดแมงลักคาที่สกัดด้วยไอน้าครั้งสุดท้าย พบเพลี้ยอ่อนถั่วบนต้นถั่วพุ่มเฉลี่ยเพียง 1 ตัวต่อต้น แสดงว่ามีประสิทธิภาพสูงสุดและมีความแตกต่างทางสถิติอย่างมีนัยสาคัญยิ่ง สารสกัดที่มีประสิทธิภาพรองลงมา คือสารสกัดสะเดาด้วยไอน้าที่พบเพลี้ยอ่อนถั่วเพียง 10 ตัวต่อต้น ส่วนสารสกัดแมงลักคา และสารสกัดสะเดาที่สกัดด้วยน้า ก็มีประสิทธิภาพในการควบคุมเพลี้ยอ่อนเช่นกันแต่ไม่สูงเท่าการสกัดด้วยไอน้า
คาสาคัญ แมงลักคา ใบสะเดา เพลี้ยอ่อนถั่ว


เข้าสู่ระบบ